วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2550

ความหมายและรูปแบบของภาษาบาลีในประเทศไทย

ความหมายและรูปแบบของภาษาบาลีในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้นได้รับเอาคำภาษาบาลีและสันสกฤษเข้ามาอย่างแพร่หลายและยังเข้ามาในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ต่อไปนี้

  • คำราชาศัพท์ ในภาษาไทยเรามีคำราชาศัพท์ที่เป็นคำบาลีและสันสกฤตจำนวนไม่น้อย
เช่น
พระเนตร หมายถึง ดวงตา (บาลี เนตฺต, สันสกฤต เนตฺร )
พระกรรณ หมายถึง หู (บาลี กณฺณ, สันสกฤต กรฺณ)
พระทนต์ หมายถึง ฟัน (บาลี ทนฺต, สันสกฤต ทนฺต)
พระบาท หมายถึง เท้า (บาลี ปาท, สันสกฤต ปาท)
พระพาหา หมายถึง แขน (บาลี พาหา, สันสกฤต พาหา)
พระเศียร หมายถึง หัว (บาลี สิร, สันสกฤต ศิรสฺ)
  • ชื่อจังหวัด อำเภอ ฯลฯ ในประเทศไทย
เช่น
สุรินทร์ แปลว่า จอมผู้กล้า, จอมเทวดา
แยกเป็น สุร (กล้า, เทวดา) + อินทร (จอม, ผู้เป็นใหญ่)
อุบลราชธานี แปลว่า เมืองดอกบัวหลวง
แยกเป็น อุบล (ดอกบัว) + ราช (พระราชา, หลวง) + ธานี (เมือง)
บุรีรัมย์ แปลว่า เมืองที่น่ายินดี
แยกเป็น บุรี (เมือง) + รัมย์ (น่ายินดี, อันเขาพึงยินดี)
ปทุมธานี แปลว่า เมืองแห่งดอกบัว
แยกเป็น ปทุม (ดอกบัว) + ธานี (เมือง)
สมุทรปราการ แปลว่า กำแพงแห่งทะเล
แยกเป็น สมุทร (ทะเล) + ปราการ (กำแพง)
สุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองคนดี
แยกเป็น สุ (ดี) + ราษฎร์ (ราษฎร, แคว้น) + ธานี (เมือง)
ชัยนาท แปลว่า เสียงบรรลือแห่งความชนะ
แยกเป็น ชัย (ความชนะ) + นาท (เสียงบรรลือ)
  • ชื่อ - นามสกุลของคน
เช่น
ทักษิณ แปลว่า ทิศใต้, ด้านขวา
กุลสตรี แปลว่า สตรีของตระกูล
แยกเป็น กุล (ตระกูล, สกุล) + สตรี (สตรี, ผู้หญิง)
กัญญารัตน์ แปลว่า นางแก้ว, แก้วคือหญิงสาว
แยกเป็น กัญญา (หญิงสาว) + รัตน์ (แก้ว, รัตนะ)
ตุงคมณี แปลว่า มณีชั้นสูง
แยกเป็น ตุงค (สูง, สูงส่ง) + มณี (มณี)
เศวตศิลา แปลว่า หินสีขาว แยกเป็น เศวต (ขาว) + ศิลา (หิน)
  • ชื่อมหาวิทยาลัย สถานที่ วัด
เช่น
ศิลปากร แปลว่า บ่อเกิดแห่งศิลปะ
แยกเป็น ศิลป (ศิลปะ) + อากร)
เกษตรศาสตร์ แปลว่า ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเกษตร
แยกเป็น เกษตร (เกษตร, ที่นา) + ศาสตร์ (ศาสตร์, ความรู้)
เทพหัสดิน แปลว่า ช้างของเทพ (หรือ เทพแห่งช้าง)
แยกเป็น เทพ (เทพ) + หัสดิน (ช้าง)
ราชมังคลากีฬาสถาน แปลว่า ที่สำหรับเล่นอันเป็นมงคลของพระราชา
แยกเป็น ราช (พระราชา) + มังคลา (เป็นมงคล) + กีฬา (กีฬา, การเล่น) + สถาน (สถาน, ที่)
เศวตฉัตร (ชื่อวัด) แปลว่า ฉัตรสีขาว
แยกเป็น เศวต (ขาว) + ฉัตร (ฉัตร, ร่ม)
  • ชื่อเดือนทั้ง ๑๒
เช่น
มกราคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายมังกร
แยกเป็น มกร (มังกร) + อาคม (เป็นที่มา)
กุมภาพันธ์ แปลว่า (เดือน) ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายหม้อ
แยกเป็น กุมภ (หม้อ) + อาพันธ์ (เกี่ยวข้อง)
มีนาคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายปลา
แยกเป็น มีน (ปลา) + อาคม (เป็นที่มา)
กรกฎาคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายปู
แยกเป็น กรกฎ (ปู) + อาคม (เป็นที่มา)
พฤศจิกายน แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายแมงป่อง
แยกเป็น พฤศจิก (แมงป่อง) + อยน (เป็นที่มา)
  • คำทั่วไป
เช่น
บรรพต แปลว่า ภูเขา (บาลี ปพฺพต, สันสกฤต ปรฺวต)
ราตรี แปลว่า กลางคืน (บาลี รตฺติ, สันสกฤต ราตฺริ,ราตฺรี)
ไปรณีษย์ แปลว่า ของที่ควรส่งไป (บาลี เปสนีย, สันสกฤต ไปฺรษณีย)
เกษียร แปลว่า น้ำนม (บาลี ขีร, สันสกฤต กฺษีร)
เกษียณ แปลว่า สิ้นไป (บาลี ขีณ, สันสกฤต กฺษีณ)

ไม่มีความคิดเห็น: