วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2550

"งามคำ...ทำนองไทย"

งามคำ ทำนองไทย
ความหมายของ “งามคำ...ทำนองไทย”นั้นได้รวบรวมความหมายในสองแง่คือ งามคำ และทำนองไทย
งามคำ ...หมายถึงการเลือกใช้คำให้งดงาม เหมาะสมกับสถานะการ เช่นการใช้กับพระมหากษัตริย์ การใช้กับพระสงฆ์เป็นตน

ทำนองไทย... หมายถึงใส่ทำนองในการพูดทำให้เกิดเป็นการร้องขึ้น เช่นการร่ายโคลง การอ่าน ทำนองเสนาะ จนค่อยๆแปรเปลี่ยนเป็นการร้องเพลงพื้นบ้านในที่สุด

“งามคำ...ทำนองไทย” โครงการที่เรียนนี้จึงเป็นการเรียนที่ได้รวมเอาทั้งการเลือกใช้คำอย่างเหมาะสมและการใส่ทำนองเข้าไปอีกด้วย แต่ทั้งสองอย่างนี้ได้มีอยู่ในประเทศของเรามานานแล้ว เพียงแต่เราจะหใความสนใจกับมันมากน้อยเพียงไรและยังเป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนได้สืบทอดมาให้ถึงรุ่นของเราอีกด้วย

"ระดับของภาษา"

ระดับของภาษา
ภาษาไทยของเรานั้นในการใช้สามารถแบ่งออกไปได้ 3 ระดับ ด้วยกันคือ ระดับของบ้าน ระดับของวัด และระดับของวัง...การแบ่งเป็นสามระดับน้แบ่งได้โดยดูจากการใช้ว่าใช้อย่างไรและกับใครดังต่อไปนี้

ภาษาระดับบ้าน
คือภาษาที่ใช้ในการพูดทั่งๆไปใช้ในหมู่ประชาชนทั่วๆไป เรียบง่ายไม่สลับซับซ้อนมากจนกระทั่งคนทั่งไปไม่เข้าใจ

ภาษาระดับวัด
เป็นภาษาที่ใช้กับพระสงฆ์ ไล่ระดับไปจนกระทั่งถึงพระสังฆราช *คล้ายคลึงกับคำราชาศัพท์ และยังรวมไปถึงการคำบาลีและคำสันสกฤษ ซึ่งเข้ามากับพระพุทธศาสนา โดยผ่านบทสวดมนต์ คาถา พระพุทธสุภาษิต ฯลฯ และยังเข้าไปอยู่ในภาษาไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีต จนกระทั้งแม้แต่คนไทยเองยังไม่รู้ว่าคำคำนั้นเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทยของเรา

ภาษาระดับวัง
คือภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ ที่เรียกกันว่าคำราชาศัพท์ และยังรวมไปถึง กาพย์เห่เรือ และโคลงที่แต่งถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ ที่มาของการใช้ภาษาที่ไม่เหมือนะดับของชาวบ้านมาจากความเชื่อเรื่องสมมติเทพ** เพราะความเชื่อนี้เองที่เชื่อว่าองค์ราชาคือร่างแห่งเทพ-เป็นเทพเจ้า เช่นองค์นารายณ์อวตารเป็นต้น จึงต้องใช้ภาษาที่แตกต่างกันหรือทำให้ดุสุงส่งมากกว่าคนทั่งไปนั้นเอง


หมายเหตุ * ในหมู่ของพระสงฆ์นั้น เองก็มีการใช้ที่แตกต่างกันตามยศด้วยเช่นกัน
**ความเชื่อนี้ได้รับมาจากอินเดียซึ่งนับถือศาสนาฮินดู-พราหมณ์ที่เชื่อเรื่องเทพเจ้าโดย
มี 3 เทพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ พระนารายณ์ พระพรหม และพระศิวะ ทั้งสามพระองค์เรียก
ได้อีก ชื่อว่าพระตรีมูรตินั้นเอง

"เพลงพื้นบ้าน"

เพลงพื้นบ้าน

เมื่อคนธรรมดาทั่งๆไปอย่างเราๆแต่งกลอน เขียนกลอนมากๆเข้า ก็นำมาร้อยเรียงเป็นบทเพลงต่างๆ ในระดับแรกก็คือ เพลงพื้นบ้าน นี้เอง

เพลงพื้นบ้าน
ความหมายของเพลงพื้นบ้าน คือ บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นต่าง ๆ คิดได้รูปแบบการร้อง การเล่นขึ้นมา จนกลายเป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง แต่ว่าภาษาที่ใช้เองก็ยังเรียบง่ายอยู่ดี แต่ว่าบทเพลงพื้นบ้านมุ่งเอาความสนุกสนานรื่นเริงเป็นหลัก และจะนิยมเล่นกันในโอกาสต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ตรุษจีน ลอยกระทงไหว้พระประจำปี หรือแม้กระทั่งในโอกาสที่ได้มาช่วยกันทำงาน ร่วมมือร่วมใจเพื่อทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เกี่ยวข้าว นวดข้าว ฯลฯ
ลักษณะของเพลงพื้นบ้าน ส่วนมากจะเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือการซักถามโต้ตอบกัน ความเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะ คารมหรือถ้อยคำง่าย ๆ แต่มีความหมาย กินใจ และยังใช้ไหวพริบปฏิภาณในการร้องที่ต้องโต้ตอบกัน เพลงพื้นบ้านส่วนใหญ่จะมีเนื้อร้อง และทำนองง่าย ๆ ร้องเล่นได้ไม่ยาก ฟังไม่นานก็สามารถร้องเล่นตามได้ การเล่นเพลงชาวบ้าน จะเล่นกัน ตามลานบ้าน ลานวัด ท้องนา ตามลำน้ำ แล้วแต่โอกาสในการเล่นเพลง เครื่องดนตรี ที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ กลอง หรือเครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองบางทีก็ไม่มีเลยใช้การปรบมือประกอบจังหวะสิ่งสำคัญในการร้องเพลงชาวบ้านอีกอย่างก็คือ ลูกคู่ร้องรับ ร้องกระทุ้ง หรือร้องสอดเพลง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้น

ประเภทของเพลงพื้นบ้าน
เราอาจแบ่งประเภทของเพลงพื้นบ้านตามภูมิภาคต่าง ๆ ได้ดังนี้
๑ เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ เช่น เพลงค่าว เป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำมากกว่าภาคอื่นๆ เพลงซอเป็นการขับร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน จ๊อยหรือการขับลำนำในโอกาสต่าง ๆ และทำฮ่ำหรือคำฮ่ำ ซึ่งเป็นการขับร้องหมู่ เป็นต้น
๒ เพลงพื้นบ้านในภาคอีสาน เช่น หมอลำ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นลำกลอนคือการลำโดยทั่วไป ลำโจทก์ – แก้ เป็นการลำถาม – ตอบ โต้ตอบกันในเรื่องต่าง ๆ ลำหมู่ เป็นการลำ เล่านิทาน เรื่องราว โดยมีผู้แสดงประกอบ ลำเต้ย เป็นการลำที่มีจังหวะช้า และลำเพลิน เป็นการลำแบบใหม่มีสาว ๆ ร่ายรำประกอบ นอกจากนี้ยังมีเพลงโคราช ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ เพลงฉ่อยของภาคกลาง เพลงลากไม้เป็นการร้องประกอบการทำงาน เพลงเซิ้ง เช่น เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งผีตาโขน เซิ้งนางแมว เป็นต้น
๓ เพลงพื้นบ้านในภาคกลาง ในภาคกลางมีเพลงพื้นบ้าน มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งมักใช้ร้องในโอกาสต่าง ๆ เช่น ร้องเพื่อความบันเทิง ได้แก่ เพลงเรือ เพลงอีแซว ลำตัด เพลงฉ่อย ร้องประกอบการทำงาน ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำรำเคียว ฯลฯ
๔ เพลงพื้นบ้านในภาคใต้ เช่น เพลงเรือ ซึ่งเป็นเพลงเล่นทางน้ำเหมือนกับ เพลงเรือของภาคกลาง แต่ทำนองที่ร้องและการแต่งเนื้อเพลงต่างกัน นอกจากนี้ยังมีเพลงบอก ซึ่งเป็นเพลงที่เล่นได้ทั้งร้องคนเดียวและร้องโต้ตอบ เพลงนา ใช้ร้องเล่นเกี้ยวพาราสีกัน ในงานเทศกาลต่าง ๆ

"เพลงพื้นบ้านภาคกลาง"

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

เพลงเกี่ยวข้าว
คว้าเถิดนาแม่คว้า รีบตะบึงถึงคันนา
จะได้พูดจากันเอย

เกี่ยวเถิดหนาแม่เกี่ยว อย่ามัวแลมัวเหลียว
เคียวจะบาดมือเอย

เกี่ยวข้าวแม่ยาย ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายกำเอย

คว้าเถิดหนาแม่คว้า ผักบุ้งสันตะวา
คว้าให้เต็มกำเอย

กลอนแปด

กลอนแปด

กลอน คือลักษณะการแต่ง ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ มีสัมผัสกัน ตามลักษณะบัญญัติ เป็นชนิดๆ แต่ไม่มีบังคับ เอกโท และครุลหุ จึงเป็นกลอนแปบที่นิยมและแต่งกันทุกชั้นของสังคม แต่ว่าการแต่งก็อาจทำให้ดูสวยงามมากขึ้นได้ด้วยการใส่คำพ้องเสียงเข้าไป

ตัวอย่างกลอนแปด

นำมาจาก http://www.baanjomyut.com/

...ก่อนสิ้นแสงจันทร์...

ตะวันลับขอบฟ้าจันทราส่อง
แสงสีทองมองดูไม่สดใสล
คิดถึงคน-คนหนึ่งอยู่แสนไกล
แต่หัวใจใกล้ชิด..สนิทกัน
ฝากสายลมพัดพาไปบอกรัก
ฝากตะวันให้ประจักษ์รักของฉัน
ฝากสายหมอกบอกคิดถึงทุกคืนวัน
ฝากแสงจันทร์ช่วยดูแลแม้ยามนอน
ท้องนภายามนี้แลเหงานัก
หลายคู่รักนั่งชมจันทร์ไม่หวั่นไหว
แล้วคนรักของฉันอยู่หนใด
มีใครไหม..นั่งชมจันทร์..เคียงข้างเธอ...
หลายคู่รักหลับสนิทนิทราฝัน
ส่วนตัวฉันหลับไม่ลงเพียงพลั้งเผลอ
ภายในใจคิดถึงแต่เพียงเธอ
หลับละเมอเพ้อหาด้วยอาทร
ก่อนสิ้นแสงจันทราราตรีนี้
ขอคนดีรับรู้ถึงความห่วงหา
แม้นสิ้นแสงแห่งจันทราราตรีกาล
แต่รักมั่นยาวนานแม้สิ้นลม
โดย : ฟ้าใส

คำบาลีและคำบาลีสันสกฤต

คำบาลีและคำบาลีสันสกฤต

ภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ได้เข้ามาในประเทศไทยนั้น ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อภาษาไทยเป็ฯอย่างมาก บาลีและสันสกฤต เป็นภาษาในตระกูลเดียวกันคือตระกูลอินโด-ยุโรป (Indo-European) ภาษาในกลุ่มนี้ เป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย หมายความว่าคำทุกคำ (ยกเว้นจำพวกอัพยยศัพท์) ไม่ว่าจะเป็นคำนามหรือคำกริยา ล้วนแล้วแต่มีรากศัพท์ หรือผ่านการประกอบรูปศัพท์ทั้งสิ้น ไม่ใช่จะสำเร็จเป็นคำเป็นศัพท์เลยทีเดียว และเมื่อจะนำไปใช้จะต้องมีการแจกรูปเสียก่อน เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ในประโยคเช่นเป็นประธาน เป็นกรรม เป็นต้น ประเทศไทยของเราได้รับเอาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤษมาโดยการที่เรารับศาสนามาจากอินเดีย ทั้งบทสวดมนต์และคำสอนต่างๆ

ประเทศไทยของเราได้ เอาคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยไม่น้อย อาจกล่าวได้ว่ามากกว่าภาษาอื่นๆ ที่นำมาใช้ในภาษาไทยในปัจจุบัน เช่น ภาษาอังกฤษ แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยแล้ว ก็มีการเปลี่ยนรูป เปลี่ยนเสียง เปลี่ยนความหมาย ฯลฯ หรือที่เรียกว่าการกลายรูป กลายเสียง กลายความหมาย ฯลฯ นั่นเอง ปัจจุบัน ภาษาบาลีและสันสกฤตมีอิทธิพลต่อภาษาไทยอย่างยิ่ง แต่เป็นการเข้ามาโดยที่เราไมม่รูตัวหรือเป็นการที่เราได้หลงลืมไป และยังได้รับเอาคำภาษาทั้งสองนี้มาใช้เป็นจำนวนมากและอย่างแพร่หลาย

ความหมายและรูปแบบของภาษาบาลีในประเทศไทย

ความหมายและรูปแบบของภาษาบาลีในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้นได้รับเอาคำภาษาบาลีและสันสกฤษเข้ามาอย่างแพร่หลายและยังเข้ามาในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ต่อไปนี้

  • คำราชาศัพท์ ในภาษาไทยเรามีคำราชาศัพท์ที่เป็นคำบาลีและสันสกฤตจำนวนไม่น้อย
เช่น
พระเนตร หมายถึง ดวงตา (บาลี เนตฺต, สันสกฤต เนตฺร )
พระกรรณ หมายถึง หู (บาลี กณฺณ, สันสกฤต กรฺณ)
พระทนต์ หมายถึง ฟัน (บาลี ทนฺต, สันสกฤต ทนฺต)
พระบาท หมายถึง เท้า (บาลี ปาท, สันสกฤต ปาท)
พระพาหา หมายถึง แขน (บาลี พาหา, สันสกฤต พาหา)
พระเศียร หมายถึง หัว (บาลี สิร, สันสกฤต ศิรสฺ)
  • ชื่อจังหวัด อำเภอ ฯลฯ ในประเทศไทย
เช่น
สุรินทร์ แปลว่า จอมผู้กล้า, จอมเทวดา
แยกเป็น สุร (กล้า, เทวดา) + อินทร (จอม, ผู้เป็นใหญ่)
อุบลราชธานี แปลว่า เมืองดอกบัวหลวง
แยกเป็น อุบล (ดอกบัว) + ราช (พระราชา, หลวง) + ธานี (เมือง)
บุรีรัมย์ แปลว่า เมืองที่น่ายินดี
แยกเป็น บุรี (เมือง) + รัมย์ (น่ายินดี, อันเขาพึงยินดี)
ปทุมธานี แปลว่า เมืองแห่งดอกบัว
แยกเป็น ปทุม (ดอกบัว) + ธานี (เมือง)
สมุทรปราการ แปลว่า กำแพงแห่งทะเล
แยกเป็น สมุทร (ทะเล) + ปราการ (กำแพง)
สุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองคนดี
แยกเป็น สุ (ดี) + ราษฎร์ (ราษฎร, แคว้น) + ธานี (เมือง)
ชัยนาท แปลว่า เสียงบรรลือแห่งความชนะ
แยกเป็น ชัย (ความชนะ) + นาท (เสียงบรรลือ)
  • ชื่อ - นามสกุลของคน
เช่น
ทักษิณ แปลว่า ทิศใต้, ด้านขวา
กุลสตรี แปลว่า สตรีของตระกูล
แยกเป็น กุล (ตระกูล, สกุล) + สตรี (สตรี, ผู้หญิง)
กัญญารัตน์ แปลว่า นางแก้ว, แก้วคือหญิงสาว
แยกเป็น กัญญา (หญิงสาว) + รัตน์ (แก้ว, รัตนะ)
ตุงคมณี แปลว่า มณีชั้นสูง
แยกเป็น ตุงค (สูง, สูงส่ง) + มณี (มณี)
เศวตศิลา แปลว่า หินสีขาว แยกเป็น เศวต (ขาว) + ศิลา (หิน)
  • ชื่อมหาวิทยาลัย สถานที่ วัด
เช่น
ศิลปากร แปลว่า บ่อเกิดแห่งศิลปะ
แยกเป็น ศิลป (ศิลปะ) + อากร)
เกษตรศาสตร์ แปลว่า ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเกษตร
แยกเป็น เกษตร (เกษตร, ที่นา) + ศาสตร์ (ศาสตร์, ความรู้)
เทพหัสดิน แปลว่า ช้างของเทพ (หรือ เทพแห่งช้าง)
แยกเป็น เทพ (เทพ) + หัสดิน (ช้าง)
ราชมังคลากีฬาสถาน แปลว่า ที่สำหรับเล่นอันเป็นมงคลของพระราชา
แยกเป็น ราช (พระราชา) + มังคลา (เป็นมงคล) + กีฬา (กีฬา, การเล่น) + สถาน (สถาน, ที่)
เศวตฉัตร (ชื่อวัด) แปลว่า ฉัตรสีขาว
แยกเป็น เศวต (ขาว) + ฉัตร (ฉัตร, ร่ม)
  • ชื่อเดือนทั้ง ๑๒
เช่น
มกราคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายมังกร
แยกเป็น มกร (มังกร) + อาคม (เป็นที่มา)
กุมภาพันธ์ แปลว่า (เดือน) ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายหม้อ
แยกเป็น กุมภ (หม้อ) + อาพันธ์ (เกี่ยวข้อง)
มีนาคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายปลา
แยกเป็น มีน (ปลา) + อาคม (เป็นที่มา)
กรกฎาคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายปู
แยกเป็น กรกฎ (ปู) + อาคม (เป็นที่มา)
พฤศจิกายน แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายแมงป่อง
แยกเป็น พฤศจิก (แมงป่อง) + อยน (เป็นที่มา)
  • คำทั่วไป
เช่น
บรรพต แปลว่า ภูเขา (บาลี ปพฺพต, สันสกฤต ปรฺวต)
ราตรี แปลว่า กลางคืน (บาลี รตฺติ, สันสกฤต ราตฺริ,ราตฺรี)
ไปรณีษย์ แปลว่า ของที่ควรส่งไป (บาลี เปสนีย, สันสกฤต ไปฺรษณีย)
เกษียร แปลว่า น้ำนม (บาลี ขีร, สันสกฤต กฺษีร)
เกษียณ แปลว่า สิ้นไป (บาลี ขีณ, สันสกฤต กฺษีณ)

คำที่ใช้กับพระสงฆ์

คำที่ใช้กับพระสงฆ์

คำที่ใช้กับพระสงฆ์นั้นก็จะมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองเหมือนกับคำราชาศัพท์ ที่มีมากหมายหลายอย่างตั้งแต่กิริยาต่างๆ ข้าวขจองเครื่องใช้ เช่น

การนอน - จำวัด
การรับประทานอาหาร - ฉัน
อาบน้ำ - สรงน้ำ
ป่วย - อาพาต
ตาย - มรณภาพ
ไหว้ - นมัสการ
สวดมนต์ - ทำวัตร
เป็นต้น
นอกจากการใช้ในระดับพระสงฆ์เพียงเท่านั้น ในการใช้ยังแบ่งเป็นระดับต่างๆของพระสงฆ์ หรือยศของพระสงฆ์ ด้วยเช่นว่า พระสังฆราชก็จะใช้คำราชาศัพท์แบบหม่อมราชวงศ์ เป็นต้ย นั้นเอง

ฉันท์

ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุและสัมผัสเป็นมาตรฐาน (จะกล่าวง่ายๆก็คือเสียง วรรณยุกต์นั้นเอง)


ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต
ไทยนำเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างในเข้ากับภาษาของเรามากขึ้นไป
การเลือกใช้ฉันท์ชนิดต่าง ๆ
การเลือกใช้ฉันท์ ฉันท์นั้นมีการแบ่งหน้าอย่างชัดเจนว่าเป็นฉันท์ที่เอาไว้ทำอะไรดังนั้นการเลือกเอาไปใช้นั้นจะต้องดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน
  • บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทไหว้ครู บทสรรเสริญพระเกียรติ ความขลัง
ใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือสัทธราฉันท์
  • บทเล่าเรื่อง บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือวสันดิลกฉันท์

  • บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่นโกรธ ตื่นเต้น วิตกกังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับความรักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่างมาก นิยมใช้ อิทิสังฉันท์ ซึ่งเป็นฉันท์ที่สลับเสียงหนักเบาเน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ
  • บทพรรณนาโวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือเป็นที่ประทับใจ นิยมใช้
    ภุชงคประยาตฉันท์

  • บทสนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้เหตการณ์บรรยายไปอย่างรวดเร็ซจะนิยมใช้
    โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ หรือจิตรปทาฉันท์
  • บทบรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อินทวงสฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ หรือสาลินีฉันท์


คัวอย่างฉันท์ บทเล่าเรื่อง ชม

อินทรวิเชียรฉันท์ หมายถึงฉันที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์


๏ พวกราชมัลโดย
พลโบยมิใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา

ขณะหวดสิพึงกลัว

๏ บงเนื้อก็เนื้อเต้น
พิศเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว

ก็ระริกระริวไหว

๏ แลหลังละโลมโล-
หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ

ระกะร่อยเพราะรอยหวาย

๏ เนื่องนับอเนกแนว
ระยะแถวตลอดลาย
เฆี่ยนครบสยบกาย

สิรพับพะกับคา

ตัวอย่างฉันท์ บทไหว้ครู

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ (สัด -รภาพ ทุน-ละ-วิก-กี-ลิ-ตะ-ฉัน) ฉันท์ที่มีลีลาประดุจสิงโตคะนอง


๏ ข้าขอเทิดทศนัขประนามคุณพระศรี สรรเพชญพระภูมี
พระภาค


๏ อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฎกวากย์ ทรงคุณคะนึงมาก
ประมาณ

๏ นบสงฆ์สาวกพุทธ์พิสุทธิ์อริยญาณ นาบุญญบุญบาน
บ โรย


๏ อีกองค์อาทิกวีพิรียุตมโดย ดำรงดำรับโปรย
ประพันธ์

๏ ผู้เริ่มรังพจมานตระการกมลกรรณ ก้มกราบพระคุณขันธ์
คเณศ

๏ สรวมชีพอัญชลีนาถพระบาทนฤเบศ มงกุฏกษัตริย์เกษตร
สยาม

๏ ที่หกรัชสมัยก็ไกรกิติพระนาม ทรงคุณคามภี-
รภาพ

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ หมายถึงคำที่เป็นคำที่ใช้ในวังเท่านั้นเป็นการรับอิทธิพลมาจากเขมรซึ่งทางเขมรเองก็รับมาจากอินเดีย เป็นคติความเชื่อเรื่องที่ว่าพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเทพมาจุติจึงต้องใช้สิ่งที่สูงส่งเเละไม่สามารถนำมาใช้กับคนทั่งๆไปได้ โดยจะแบ่งออกเป็นหลายๆอย่างเช่น ข้างของเครื่องใช้ ร่างกาย ท่าทาง กิริยาอาการ ฯลฯ ซึ่งทั่งหมดนั้นเองก็จะแบ่งไปตามว่าเราใช้กับใคร เช่นพระราชินี พระบรมวงศ์นุวงค์ ฯลฯ ทั้งยังมีการนำศัพท์เหล่านี้นั้ตนไปแต่งเป็นกาพย์เห่เรือซึ่งเป็นการแต่งเพื่อเถิดทูนองค์พระมหากษัตรย์อีกด้วย

ราชาศัพท์หมวดพระวงศ์

หมวดพระราชวงศ์

ปู่ทวด (พ่อของปู่)=พระเปตามไหยกา
ปู่ทวด (พ่อของย่า)=พระมาตามไหยกา
ตาทวด (พ่อของตา)=พระเปตามไหยกา
ตาทวด (พ่อของยาย)=พระมาตามไหยกา
ปู่ทวดและตาทวด=พระไปยกา
ย่าทวด (แม่ของปู่)=พระเปตามไหยิกา
ย่าทวด (แม่ของย่า)=พระมาตามไหยิกา
ยายทวด (แม่ของตา)=พระเปตามไหยิกา
ยายทวด (แม่ของยาย)=พระมาตามไหยิกา
ย่าทวดและยายทวด=พระไปยิกา
ปู่ (พ่อของพ่อ),
ตา (พ่อของแม่)=พระอัยกา
ย่า (แม่ของพ่อ),ยาย (แม่ของแม่)=พระอัยยิกา
ย่า (แม่ของพ่อ),ยาย (แม่ของแม่)=พระอัยกี
ลุง (พี่ชายของพ่อ)=พระปิตุลา
ป้า (พี่สาวของพ่อ)=พระปิตุจฉา

ลง (พี่ชายของแม่)=พระมาตุลา
ป้า (พี่สาวของแม่)=พระมาตุจฉา
พ่อ=พระชนก,พระบิดร,พระบิดา
แม่=พระชนนี,พระมารดร,พระมารดา
อา (น้องชายของพ่อ)=พระปิตุลา
อา (น้องชายของพ่อ)=พระเจ้าอา
อา (น้องชายของพ่อ)=พระปิตุจฉา
น้า (น้องชายของแม่)=พระตุลา
น้า (น้องสาวของแม่)=พระมาตุจฉา
พี่ชาย=พระเชษฐา,พระเชษฐภาตา
พี่สาว=พระเชษฐภคินี
น้องชาย=พระอนุชา,พระขนิษฐา
น้องสาว=พระขนิษฐภาตา,พระขนิษฐภคินี
ลูกชาย=พระราชโอรส,พระโอรส,พระบุตร
ลูกสาว=พระราชธิดา,พระธิดา,พระบุตรี
หลาน (ลูกของลูก)=พระนัดดา
หลาน (ลูกของพี่, ลูกของน้อง)=พระภาคิไนย
เหลน (หลานของลูก)=พระปนัดดา
พ่อผัว,
พ่อตา=พระสัสสุระ
แม่ผัว,แม่ยาย=พระสัสสุ
ผัว=พระสวามี,พระสามี
ผัว=พระภัสดา
เมีย=พระมเหสี,พระชายา
ลูกเขย=พระชามาดา
ลูกสะใภ้=พระสุณิสา

คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้


หมวดราชูปโภค (เครื่องใช้สอย, เครื่องประดับ และสิ่งต่างๆ)

กระโถนเล็ก=พระสุพรรณศรี
กระโถนใหญ่ (พระราชา)=พระสุพรรณราช
กระโถน (เจ้านาย, พระราชวงศ์)=บ้วนพระโอษฐ์
โต๊ะเท้าช้าง, โต๊ะสำรับกับข้าวของกิน)=พระสุพรรณภาชน์
โต๊ะเขียนหนังสือ=โต๊ะทรงพระอักษร
โต๊ะเล็กข้างเตียงนอน=โต๊ะข้างพระที่
พานหมาก (พระราชา)=พานพระศรี
พานหมาก (เจ้านาย, พระราชวงศ์)=พานหมากเสวย
หีบหมาก (พระราชา)=หีบพระศรี
หีบหมาก (พระราชวงศ์)=พระล่วม
หีบหมาก (เจ้านาย, พระราชวงศ์)=หีบหมากเสวย
ตลับเพชร=พระรัตนกรัณฑ์
ถาดน้ำร้อน=ถาดพระสุธารสร้อน
ถาดน้ำเย็น=ถาดพระสุธารสเย็น

จอกหมาก=พระมังสี
พานรองสังข์=พระมังสี
คนโทน้ำ=พระตะพาบ, พระเต้า
หม้อน้ำ=พระตะพาบ
หม้อกรวดน้ำ=พระเต้าทักษิโณทก
หม้อน้ำเย็น=พระมณฑปรัตนกรัณฑ์
เต้าน้ำที่ทำด้วยทองคำ=พระสุวรรณภิงคาร
เต้าน้ำที่ทำด้วยดินเผา=พระภิงคาร

หมาก=พระศรี
น้ำดื่ม=พระสุธารส
น้ำชา=พระสุธารสชา
แก้วน้ำดื่ม=แก้วน้ำเสวย
ของกิน=เครื่อง
ของคาว=เครื่องคาว
กับข้าว, ของกิน=เครื่องเสวยหรือเครื่องคาว
ของหวาน=เครื่องหวาน, เครื่องต้นหวาน
ของว่าง=เครื่องว่าง
ข้าว=พระกระยาเสวย

ยารักษาโรค=พระโอสถ
เครื่องหอม (แป้งหอม, สบู่หอม)=พระสุคนธ์
ห้องแต่งตัว=ห้องพระสำอาง
ห้องสุขา=ห้องลงพระบังคน
เตียง=พระแท่น
เตียงนอน=พระแท่นบรรทม
ที่สำหรับนั่ง=พระราชอาสน์
เครื่องลาด=พระบรรจถรณ์, พระสุจหนี่
เครื่องปู=พระบรรจถรณ์
ที่นอน=พระบรรจถรณ์
ที่นอน (เจ้านาย)=พระที่
หมอนหนุน=พระเขนย

หมอนอิง=พระขนน
ที่นอน=พระยี่ภู่
ฟูก=พระยี่ภู่
เบาะ=พระยี่ภู่
ม่าน=พระวิสูตร
มุ้ง=พระวิสูตร
เปล=พระอึงรัง,พระอู่
ผ้านุ่ง (พระมหากษัตริย์)
พระภูษา=ผ้านุ่ง (เจ้านาย)

ฉัตร=เครื่องสูง พระอภิรุม
ชุมสาย=เครื่องสูง พระอภิรุม
พัดโบก=เครื่องสูง พระอภิรุม
จามร=เครื่องสูง พระอภิรุม
บังแทรก=เครื่องสูง พระอภิรุม
บังสูรย์=เครื่องสูง พระอภิรุม
หน้าต่าง=พระบัญชร
บานหน้าต่าง=พระแกล
ประตู=พระทวาร
เรือนหลวง=พระที่นั่ง
ยานพาหนะที่ทรง=พระที่นั่ง
กินยา=เสวยพระโอสถ
ยาถ่าย=พระโอสถประจุ

ยาสูบ=พระโอสถเส้น
บุหรี่เป็นมวน=พระโอสถมวน
สูบบุหรี่=ทรงพระโอสถมวน
เหล้า=น้ำจัณฑ์
แว่นตา=ฉลองพระเนตร
เสื้อ=ฉลองพระองค์, เครื่องแบบ
เสื้อ=พระกัญจุก
เสื้อ (เจ้านาย)=เสื้อทรง
ช้อน=ฉลองพระหัตถ์ช้อน
ส้อม=ฉลองพระหัตถ์ส้อม
ตะเกียบ=ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ
รองเท้า (พระมหากษัตริย์)=ฉลองพระบาท
รองเท้า (เจ้านาย)=รองพระบาท
ถุงเท้า=ถุงพระบาท
ไม้เกาหลัง=ฉลองไต, ไม้ฉลองพระหัตถ์
ไม้เกาหลัง=นารายณ์หัตถ์
อาวุธ, ศัสตราวุธ=พระแสง

กระบี่=พระแสงพระบี่
กริช=พระแสงกริช
ปืน=พระแสงปืน
มีดเจียนหมาก=พระแสงกรรบิด
มีดโกน=พระแสงกรรบิด
กรรไตร, กรรไกร=พระแสงกรรไตร, พระแสงปนาค
แหนบ=พระแสงกัสสะ
ไม้เท้า=ธารพระกร
ไม้วา=ธารพระกร
ตรา (สำหรับใช้ตีหรือประทับ)=พระราชลัญจกร=ตราสำหรับใช้ประทับ (พระราชวงศ์)

พระตรา=ตราราชอิสริยาภรณ์
กระจกส่อง=พระฉาย
หวี=พระสาง
หวีเสนียด=พระสางเสนียด
หวีวงเดือน=พระสางวงเดือน
น้ำอบ=พระสุคนธ์
เครื่องหอม เช่น กระแจะ, แป้งร่ำ, แป้งหอม, สบู่=เครื่องพระสำอาง
เรือน (เจ้านาย)=ตำหนัก
ที่พักชั่วคราว=พลับพลา
บ้าน (เจ้านาย)=วัง
ผ้าส่านแดง (ผ้าขนสัตว์สีแดง)=พระรัตกัมพล
ผ้าสาน (ผ้าขนสัตว์)=พระกัมพล
ผ้าทอด้วยขนสัตว์=พระกัมพล
ผ้าห่มตัว (สไบ)=พระสะพัก

ผ้าห่ม=ผ้าคลุมพระองค์
ห่มผ้า=ทรงสะพัก
ผ้าห่มนอน=คลุมบรรทม
ผ้าเช็ดตัว=ผ้าซับพระองค์
ผ้าเช็ดหน้า=ผ้าซับพระพักตร์
ผ้าอาบ (พระมหากษัตริย์)=พระภูษาชุบสรง
ผ้าอาบน้ำ (พระราชวงศ์)=ผ้าชุบสรง, ผ้าสรง
ผ้ากันเปื้อน=ผ้ากันเปื้อนส่วนพระองค์
กำไลมือ=ทองพระกร

กำไลเท้า=ทองพระบาท
แหวน=พระธำมรงค์
สร้อยอ่อน=พระเกยูร
สายสร้อย=พระเกยูร, สายพระศอ
กำไล=พระเกยูร
เครื่องประดับที่สวมไว้ที่ต้นแขนลักษณะคล้ายกำไล=พระพาหุรัด
เข็มขัด=พระปั้นเหน่ง
เข็มขัด=รัดพระองค์
ผ้าโพก=พระเวฐิตะ, พระเวฐนะ
หมวก=พระมาลา
ปิ่นประดับเพชร=พระจุฑามณี

กรอบหน้า=พระอุณหิส
มงกุฎ=พระอุณหิส
ตุ้มหู=พระกุณฑล
จอนหู=พระกรรเจียก
เครื่องทัดหู=พระกรรเจียก
สร้อยยาวสวมสะพานแล่ง=พระสังวาล

คำราชาศัพ์หมวดร่างกาย


หมวดร่างกาย

หัว (พระราชา)=พระเจ้า,พระเศียร
ผม (พระราชา)=เส้นพระเจ้า,พระเจ้า
ผม=พระเกศา,ระเกศ,พระศก
ผมมวย หรือมวยผม=พระจุฑามาศ
ผมเปีย=พระเวณิ
ไรผม=ไรพระเกศา, ไรพระเกศ
จุก=พระโมลี,พระเมาลี
ไรจุก=พระจุไร
หน้าผาก=พระนลาฏ
คิ้ว=พระขนง,พระภมู
ขนหว่างคิ้ว=พระอุณาโลม
ขนจมูก=พระโลมะนาสิก, ขนพระนาสิก
ดวงตา=พระจักษุ,พระนัยนา, พระนยนะ,พระเนตร
ตาดำ=พระเนตรดำ, ดวงพระเนตรดำ
ตาขาว=พระเนตรขาว, ดวงพระเนตรขาว

หนังตา=พระตจะเนตร, หนังพระเนตร
ขนตา=พระโลมะจักษุ, ขนพระเนตร
ขอบตา=ขอบพระเนตร
หลังตา=หลังพระเนตร
ท่อน้ำตา, ต่อมน้ำตา=พระอัสสุธารา, ต่อมพระเนตร
จมูก=พระนาสา,พระนาสิก
สันจมูก=สันพระนาสิก, สันพระนาสา
ช่องจมูก=ช่องพระนาสิก
แก้ม=พระปราง
กระพุ้งแก้ม=พระกำโบล
หนวด=พระมัสสุ
เครา=พระทฐิกะ
เครา=พระทาฒิกะ
ปาก=พระโอษฐ์
ริมฝีปาก=พระโอษฐ์
ฟัน=พระทนต์
ไรฟัน=ไรพระทนต์
เหงือก=ไรพระทนต์
เขี้ยว=พระทาฒะ, พระทาฐะ

ลิ้น=พระชิวหา
ต้นลิ้น (ลิ้นไก่)=มูลพระชิวหา, ต้นพระชิวหา
คาง=พระหนุ (หะ-นุ)
ขากรรไกร=ต้นพระหนุ
หู=พระกรรณ
ใบหู=พระกรรณ
ช่องหู=ช่องพระโสต
ช่องหู=ช่องพระกรรณ

ดวงหน้า=พระพักตร์
คอ=พระศอ
ลำคอ=ลำพระศอ
ไหปลาร้า=พระรากขวัญ
บ่า=พระอังสา
ไหล่=พระอังสา
จะงอยบ่า=พระอังสกุฏ
ศอก=พระกัปปะระ

ศอก=พระกโบระ, ข้อพระพาหา
แขน ตั้งแต่แขนลงไปถึงข้อศอก=พระพาหา
ปลายแขน (ตั้งแต่ข้อศอกลงไปถึงข้อมือ)=พระพาหุ
ข้อมือ=ข้อพระกร,ข้อพระหัตถ์
มือ=พระหัตถ์
ฝ่ามือ=ฝ่าพระหัตถ์

นิ้วมือ=พระองคุลี
นิ้วหัวแม่มือ=พระอังคุฐ
นิ้วชี้=พระดัชนี
นิ้วกลาง=พระมัชฌิมา
นิ้วนาง=พระอนามิกา
นิ้วก้อย=พระกนิษฐา
ข้อนิ้วมือ=ข้อนิ้วพระหัตถ์

กำมือ, กำหมัด, กำปั้น=กำพระหัตถ์, พระมุฐ
เล็บ=พระนขา
ขี้เล็บ=มูลพระนขา
อก=พระอุระ,พระทรวง
นม=พระถัน

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ประเภท "
ร้อยกรอง" ชนิดหนึ่ง โดยจะมีลักษณะเด่นๆ คือนอกจากจะมีบังคับสัมผัสตามที่ต่าง ๆ แล้วยังบังคับให้มีวรรณยุกต์เอกโทในบางตำแหน่งด้วย กล่าวคือ มีเอก 7 แห่ง และโท 4
โคลงสี่สุภาพจะมีบทหนึ่ง มี 4 บาท (เขียนเป็น 4 บรรทัด) 1 บาทแบ่งออกเป็น 2 วรรค โดยวรรคแรกกำหนดจำนวนคำไว้ 5 คำ ส่วนวรรคหลัง ในบาทที่ 1,2 และ 3 จะมี 2 คำ (แต่บาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มสร้อยได้อีกแห่งละ 2 คำ) ส่วนบาทที่ 4 วรรคที่ 2 จะมี 4 คำ รวมทั้งบท มี 30 คำ และเมื่อรวมสร้อยทั้งหมดอาจเพิ่มเป็น 34 คำ ส่วนที่บังคับ เอก โท (เอก 7 โท 4) ดังนี้ บาทที่ 1 วรรคแรก คำที่ 4 เอก และคำที่ 5 โท บาทที่ 2 วรรคแรก คำที่ 2 เอก วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท บาทที่ 3 วรรคแรก คำที่ 3 เอก วรรคหลัง คำที่ 2 เอก บาทที่ 4 วรรคแรก คำที่ 2 เอก คำที่ 5 โท วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท สัมผัส ที่บังคับเป็นสัมผัสสระ ดังนี้ บาทแรก คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาทที่ 2 และ 3 บาทที่ 2 คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาทที่ 4 นอกนั้น อาจมีสัมผัสอักษรภายในแต่ละวรรคได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะมีส่วนเพิ่มความไพเราะขึ้นอีก

ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ

ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมาล้าง ดาบนี้ คืนสนอง
แต่งโดยศรีปราช กวีเอก สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (อยุธยา)

กาพย์เห่เรือ

กาพย์เห่เรือ

กาพย์เห่เรือ เป็น
คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง แต่งไว้สำหรับขับร้องเห่ในกระบวนเรือ โดยมีทำนองเห่ที่สอดคล้องกับจังหวะการพายของฝีพาย ว่าช้า หรือเร็ว มักจะมีพนักงานขับเห่หนึ่งคนเป็นต้นเสียง และฝีพายคอยร้องขับตามจังหวะ พร้อมกับการให้จังหวะจากพนักงานประจำเรือแต่ละลำ ในปัจจุบันนั้นจะเป็นสิ่งที่เห็นได้เฉพาะในพระราชพิธีต่างๆที่สำคัญๆเท่านั้น ฃตามความจริงแล้วก็จะใช่ก็ต่อเมื่อมีการเดินทางทางน้ำของพระมหากษัตริย์เท่านั้นด้วย แต่ด้วยสมัยที่เปลี่ยนไปทำห้เราไม่ค่อนได้เห็นและได้พบเจอเท่าไหร่ อาจเพราะในสมัยนี้นั้นรัชกาลหนึ่งอาจมีการเดินทางทางน้ำไม่กี่ครั้งแล้วนั้นเอง

กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือใน เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกากีสันนิษฐานกันว่ากาพย์เห่เรือ เดิมคงจะแต่งเพื่อขับเห่กันเมื่อเดินทางไกลในแม่น้ำลำคลอง

ขุนช้างขุนแผน

ขุนช้างขุนแผน
ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมเก่าแก่ที่เล่าต่อๆกันมาแต่ว่าจะมีความแตกต่างตรงที่เป็นวรรณกรรมที่รวมเอาทั่งบ้านวัดและวังเข้าด้วยกัน จะเรียกว่าครบครันใมนเรื่องเดียวกันก็ว่าได้ ทั้งเนื้อเรื่องที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อ เช่นเรื่องของการทำกุมารทอง การเชื่อเรื่องผืฃีป่าผีเมือง เป็นต้อน แล้วยังเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์และการเข้าไปรำเรียนสิ่งต่างๆและการบวชในวัดในเรื่องนี้ก็มีอีกด้วย

เรื่องย่อขุนช้างขุนแผน

เรื่องย่อ
กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่าย รับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อ พลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยา ชื่อ นางเทพทอง มีลูกชายชื่อ ขุนช้าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด และครอบครัวของพันศรโยธาเป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ นางพิมพิลาไลย

วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษามีประสงค์จะล่าควายป่าจึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้แต่ควายป่าเหล่านั้นแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมายที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี ทางเมืองสุพรรณบุรีมีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศรโยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมืองพอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย
เมื่อพลายแก้วอายุได้ 15 ปี ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียน ต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์ เทศน์ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิษฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ต่อมา เณรพลายแก้วก็สึกแล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกัน
ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราว ความเก่งกล้าสามารถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ห่างไกลนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้ชัยชนะ
นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อนจึงยก นางลาวทองลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้วส่วนพิมพิลาไลยเมื่อสามีจากไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หายวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลียนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใหม่ใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดู ว่าพลายแก้วตายแล้วและขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฏหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริงประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่แต่นางไม่ยอมเข้าหอขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึง กรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนแผนแสนสะท้านจากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรี นางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็ โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผนทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจ ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับการอบรมในวังและได้เป็นมหาดเล็กเวรทั้ง 2 คน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่านางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผนขุน ช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาภรรยา สมเด็จพระพันวษาโกรธตรัสให้ขุนแผนตระเวนด่านที่กาญจนบุรี ห้ามเข้าเฝ้าและริบนางลาวทองเข้าเป็นหม้ายหลวง ขุนแผนได้ทราบเรื่องก็โกรธขุนช้าง คิดจะแก้แค้นแต่ยังมีกำลังไม่พอ จึงออกตระเวนป่าไปโดยลำพัง คิดจะหาอาวุธ ม้า และ กุมารทอง สำหรับป้องกันตัว ได้ตระเวนไปจนถึงถิ่นของหมื่นหาญนักเลงใหญ่ ได้เข้าสมัครเข้าไปอยู่ด้วยเพราะหวังจะได้บัวคลี่ลูกสาวของหมื่นหาญ ได้ทำตัวนอบน้อมและตั้งใจทำงานเป็นอย่างดีจนเป็นที่รักใคร่ของหมื่นหาญถึงกับออกปากยกลูกสาวให้แต่งงานด้วยพอได้แต่งงานกับบัวคลี่แล้วขุนแผน ก็ไม่ยอมทำงานร่วมกับหมื่นหาญ ทำให้หมื่นหาญโกรธคิดฆ่าขุนแผน เพราะขุนแผนอยู่ยงคงกระพันจึงให้บัวคลี่ใส่ยาพิศลงในอาหารให้ขุนแผนกิน แต่ผีพรายมาบอกให้รู้ตัวขุนแผนจึงทำอุบายเป็นไข้ไม่ยอมกินอาหารแล้วออกปากขอลูกจากบัวคลี่นางไม่รู้ความหมายก็ออกปากยกลูกให้ขุนแผน พอกลางคืนขณะที่บัวคลี่นอนหลับขุนแผนก็ผ่าท้องนางแล้วนำลูกไปทำพิธีตอนเช้าหมื่นหาญ และภรรยารู้ว่าลูกสาวถูกผ่าท้องตายก็ติดตามขุนแผนไป แต่ก็สู้ขุนแผนไม่ได้ ขุนแผนเสกกุมารทองสำเร็จ จึงออกเดินทางต่อไป แล้วไปหาช่างตีดาบหาเหล็กและเครื่องใช้ต่าง ๆเตรียมไว้ตั้งพิธีตีดาบ จนสำเร็จ ดาบนี้ให้ชื่อว่า ดาบฟ้าฟื้น ใช้เป็นอาวุธต่อไป หลังจากนั้นเดินทางไปหาม้าได้ไปพบคณะจัดซื้อม้าหลวง ได้เห็นลูกม้าลูกม้าตัวหนึ่งมีลักษณะถูกต้องตามตำราก็ชอบใจ ได้ออกปากซื้อเจ้าหน้าที่ก็ขายให้ในราคาถูก ขุนแผนจึงเสกหญ้าให้ม้ากิน และนำมาฝึกจนเป็นม้าแสนรู้ให้ชื่อว่า ม้าสีหมอก
เมื่อได้กุมารทอง ดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอกครบตามความตั้งใจแล้วก็เดินทางกลับบ้าน คิดจะไปแก้แค้นขุนช้าง นางทองประศรีมารดาห้ามปรามก็ไม่ฟัง ได้เดินทางออกจากกาญจนบุรีไปยังสุพรรณบุรีขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาลูกสาวพระยาสุโขทัยที่นำมาเป็นตัวจำนำไว้ในบ้าน ขุนช้างเป็นภรรยา แล้วพาวันทองหนีออกจากบ้าน ขุนช้างตื่นได้ออกติดตามแต่ตามไม่ทัน ได้ไปทูลฟ้อง สมเด็จพระพันวษาให้กองทัพออกติดตามขุนแผน
ขุนแผนไม่ยอมกลับได้ต่อสู้กับกองทัพทำให้ขุนเพชร ขุนรามถึงแก่ความตาย กองทัพต้องถอยกลับกรุง ขุนแผนจึงกลายเป็นกบฏ ต้องเที่ยว เร่ร่อนอยู่ในป่า จนนางวันทองตั้งท้องแก่ใกล้คลอด ขุนแผนสงสารกลัวนางจะเป็นอันตรายจึงยอมเข้ามอบตัวกับพระพิจิตร พระพิจิตรได้ส่งตัว เข้าสู้คดีในกรุง ขุนแผนชนะคดีและได้นางวันทองคืน ขุนแผนมีความคิดถึงลาวทอง ได้ขอให้จมื่นศรีช่วยขอให้ ขุนแผนถูกกริ้วและถูกจำคุก นางแก้วกิริยาจึงตามไปปรนนิบัติในคุก วันหนึ่งขณะที่นางวันทองมาเยี่ยมขุนแผน ขุนช้างได้มาฉุดนางวันทองไปจนนางวันทองคลอดลูกให้ชื่อว่า พลายงาม เมื่อขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตัวเองจึงหลอกพลายงามไปฆ่าในป่าแต่ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้ นางวันทองบอกความจริงและได้ให้ พลายงามเดินทางไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี พลายงามอยู่กับย่าจนโตได้บวชเป็นเณรและเล่าเรียนวิชาความรู้เก่งกล้าทั้งเวทมนตร์คาถา และการสงคราม
เมื่อมีโอกาสขุนแผนได้ให้จมื่นศรีนำพลายงามเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก เมื่อมีศึกเชียงใหม่ พลายงามได้อาสาออกรบและทูลขอประทานอภัยโทษให้พ่อเพื่อไปรบ ขุนแผนและนางลาวทองจึงพ้นโทษ ขณะที่เดินทางไปทำสงครามนั้นผ่านเมืองพิจิตร ขุนแผนจึงแวะเยี่ยมพระ พิจิตร เมื่อพลายงามได้พบนางศรีมาลาลูกสาวพระพิจิตรก็หลงรัก จึงได้ลอบเข้าหานาง ขุนแผนจึงทำการหมั้นหมายไว้ เมื่อชนะศึก พระเจ้าเชียง ใหม่ได้ส่งนางสร้อยทอง และสร้อยฟ้ามาถวาย พระพันวษาได้แต่งตั้งขุนแผนเป็นพระสุรินทรลือไชยมไหสูรย์ภักดี ไปรั้งเมืองกาญจนบุรี และได้แต่งตั้งพลายงามเป็น จมื่นไวยวรนาถ และประทานสร้อยฟ้าให้แก่พลายงาม จากนั้นก็ทรงจัดงานแต่งงานให้กับพลายงาม ขณะที่ทำพิธีแต่งงาน ขุนช้างได้วิวาทกับพลายงาม ขุนช้างได้ทูลฟ้อง จึงโปรดให้มีการชำระความโดนการดำน้ำพิสูจน์ ขุนช้างแพ้ความ พระพันวษาโปรดให้ประหารชีวิต แต่พระไวยขอชีวิตไว้ ต่อมาพระไวยมีความคิดถึงแม่จึงไปรับนางวันทองมาอยู่ด้วยขุนช้างติดตามไป แต่พระไวยไม่ยอมให้ขุนช้างจึงถวายฎีกา พระพันวษาจึงตรัสให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร นางวันทองมีความลังเลเลือกไม่ได้ว่าจะอยู่กับใคร พระพันวษาทรงโกรธจึงรับสั่งให้ประหารชีวิต แม้พระไวยจะขออภัยโทษได้แล้ว แต่ด้วยเคราะห์ของนางวันทอง ทำให้เพชรฆาตเข้าใจผิดจึงประหารนางเสียก่อน เมื่อจัดงานศพนางวันทองแล้ว ขุนแผนได้เลื่อนเป็นพระกาญจนบุรี นางสร้อยฟ้าได้ให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงใหลนางและเกลียดชังนางศรีมาลา พระกาญจนบุรีมาเตือนพระไวย พระไวยจึงโกรธลำเลิกบุญคุณกับพ่อ ทำให้พระกาญจนบุรีโกรธ คบคิดกับพลายชุมพลลูกชายซึ่งเกิดจากนางแก้วกิริยาปลอมเป็น มอญยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา หวังจะให้พระไวยออกต่อสู้ จะได้แก้แค้นได้สำเร็จ พระไวยรู้ตัวเพราะ ผีเปรตนางวันทองมาบอกพระพันวษาทรงทราบเรื่องโปรดให้มีการไต่สวน พลายชุมพลพิสูจน์ได้ว่า นางสร้อยฟ้ากับเถรขวาดได้ทำเสน่ห์จริงแต่นางสร้อยฟ้าไม่รับ จึงมีการพิสูจน์โดยการ ลุยไฟ สร้อยฟ้าแพ้ พระพันวษาสั่งให้ประหาร แต่นางศรีมาลาทูลขอไว้นางสร้อยฟ้าจึงถูกเนรเทศกลับไปเชียงใหม่ และคลอดลูกชื่อ พลายยง ต่อ มานางศรีมาลาก็คลอดลูกชาย ขุนแผนจึงตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร เถรขวาดมีความแค้นพลายชุมพล จึงปลอมเป็นจระเข้ไล่กัดกินคนมาจากทาง เหนือหวังจะแก้แค้นพลายชุมพลพระพันวษาโปรดให้พลายชุมพลไปปราบ จระเข้เถรขวาดสู้ไม่ได้ถูกจับตัวมาถวายพระพันวษา และถูกประหาร ในที่สุด พลายชุมพลได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงนายฤทธิ์ เหตุการณ์ร้ายแรงผ่านไป ทุกคนก็อยู่ด้วยความเป็นสุข