วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2550

"งามคำ...ทำนองไทย"

งามคำ ทำนองไทย
ความหมายของ “งามคำ...ทำนองไทย”นั้นได้รวบรวมความหมายในสองแง่คือ งามคำ และทำนองไทย
งามคำ ...หมายถึงการเลือกใช้คำให้งดงาม เหมาะสมกับสถานะการ เช่นการใช้กับพระมหากษัตริย์ การใช้กับพระสงฆ์เป็นตน

ทำนองไทย... หมายถึงใส่ทำนองในการพูดทำให้เกิดเป็นการร้องขึ้น เช่นการร่ายโคลง การอ่าน ทำนองเสนาะ จนค่อยๆแปรเปลี่ยนเป็นการร้องเพลงพื้นบ้านในที่สุด

“งามคำ...ทำนองไทย” โครงการที่เรียนนี้จึงเป็นการเรียนที่ได้รวมเอาทั้งการเลือกใช้คำอย่างเหมาะสมและการใส่ทำนองเข้าไปอีกด้วย แต่ทั้งสองอย่างนี้ได้มีอยู่ในประเทศของเรามานานแล้ว เพียงแต่เราจะหใความสนใจกับมันมากน้อยเพียงไรและยังเป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนได้สืบทอดมาให้ถึงรุ่นของเราอีกด้วย

"ระดับของภาษา"

ระดับของภาษา
ภาษาไทยของเรานั้นในการใช้สามารถแบ่งออกไปได้ 3 ระดับ ด้วยกันคือ ระดับของบ้าน ระดับของวัด และระดับของวัง...การแบ่งเป็นสามระดับน้แบ่งได้โดยดูจากการใช้ว่าใช้อย่างไรและกับใครดังต่อไปนี้

ภาษาระดับบ้าน
คือภาษาที่ใช้ในการพูดทั่งๆไปใช้ในหมู่ประชาชนทั่วๆไป เรียบง่ายไม่สลับซับซ้อนมากจนกระทั่งคนทั่งไปไม่เข้าใจ

ภาษาระดับวัด
เป็นภาษาที่ใช้กับพระสงฆ์ ไล่ระดับไปจนกระทั่งถึงพระสังฆราช *คล้ายคลึงกับคำราชาศัพท์ และยังรวมไปถึงการคำบาลีและคำสันสกฤษ ซึ่งเข้ามากับพระพุทธศาสนา โดยผ่านบทสวดมนต์ คาถา พระพุทธสุภาษิต ฯลฯ และยังเข้าไปอยู่ในภาษาไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีต จนกระทั้งแม้แต่คนไทยเองยังไม่รู้ว่าคำคำนั้นเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทยของเรา

ภาษาระดับวัง
คือภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ ที่เรียกกันว่าคำราชาศัพท์ และยังรวมไปถึง กาพย์เห่เรือ และโคลงที่แต่งถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ ที่มาของการใช้ภาษาที่ไม่เหมือนะดับของชาวบ้านมาจากความเชื่อเรื่องสมมติเทพ** เพราะความเชื่อนี้เองที่เชื่อว่าองค์ราชาคือร่างแห่งเทพ-เป็นเทพเจ้า เช่นองค์นารายณ์อวตารเป็นต้น จึงต้องใช้ภาษาที่แตกต่างกันหรือทำให้ดุสุงส่งมากกว่าคนทั่งไปนั้นเอง


หมายเหตุ * ในหมู่ของพระสงฆ์นั้น เองก็มีการใช้ที่แตกต่างกันตามยศด้วยเช่นกัน
**ความเชื่อนี้ได้รับมาจากอินเดียซึ่งนับถือศาสนาฮินดู-พราหมณ์ที่เชื่อเรื่องเทพเจ้าโดย
มี 3 เทพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ พระนารายณ์ พระพรหม และพระศิวะ ทั้งสามพระองค์เรียก
ได้อีก ชื่อว่าพระตรีมูรตินั้นเอง

"เพลงพื้นบ้าน"

เพลงพื้นบ้าน

เมื่อคนธรรมดาทั่งๆไปอย่างเราๆแต่งกลอน เขียนกลอนมากๆเข้า ก็นำมาร้อยเรียงเป็นบทเพลงต่างๆ ในระดับแรกก็คือ เพลงพื้นบ้าน นี้เอง

เพลงพื้นบ้าน
ความหมายของเพลงพื้นบ้าน คือ บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นต่าง ๆ คิดได้รูปแบบการร้อง การเล่นขึ้นมา จนกลายเป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง แต่ว่าภาษาที่ใช้เองก็ยังเรียบง่ายอยู่ดี แต่ว่าบทเพลงพื้นบ้านมุ่งเอาความสนุกสนานรื่นเริงเป็นหลัก และจะนิยมเล่นกันในโอกาสต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ตรุษจีน ลอยกระทงไหว้พระประจำปี หรือแม้กระทั่งในโอกาสที่ได้มาช่วยกันทำงาน ร่วมมือร่วมใจเพื่อทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เกี่ยวข้าว นวดข้าว ฯลฯ
ลักษณะของเพลงพื้นบ้าน ส่วนมากจะเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือการซักถามโต้ตอบกัน ความเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะ คารมหรือถ้อยคำง่าย ๆ แต่มีความหมาย กินใจ และยังใช้ไหวพริบปฏิภาณในการร้องที่ต้องโต้ตอบกัน เพลงพื้นบ้านส่วนใหญ่จะมีเนื้อร้อง และทำนองง่าย ๆ ร้องเล่นได้ไม่ยาก ฟังไม่นานก็สามารถร้องเล่นตามได้ การเล่นเพลงชาวบ้าน จะเล่นกัน ตามลานบ้าน ลานวัด ท้องนา ตามลำน้ำ แล้วแต่โอกาสในการเล่นเพลง เครื่องดนตรี ที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ กลอง หรือเครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองบางทีก็ไม่มีเลยใช้การปรบมือประกอบจังหวะสิ่งสำคัญในการร้องเพลงชาวบ้านอีกอย่างก็คือ ลูกคู่ร้องรับ ร้องกระทุ้ง หรือร้องสอดเพลง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้น

ประเภทของเพลงพื้นบ้าน
เราอาจแบ่งประเภทของเพลงพื้นบ้านตามภูมิภาคต่าง ๆ ได้ดังนี้
๑ เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ เช่น เพลงค่าว เป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำมากกว่าภาคอื่นๆ เพลงซอเป็นการขับร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน จ๊อยหรือการขับลำนำในโอกาสต่าง ๆ และทำฮ่ำหรือคำฮ่ำ ซึ่งเป็นการขับร้องหมู่ เป็นต้น
๒ เพลงพื้นบ้านในภาคอีสาน เช่น หมอลำ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นลำกลอนคือการลำโดยทั่วไป ลำโจทก์ – แก้ เป็นการลำถาม – ตอบ โต้ตอบกันในเรื่องต่าง ๆ ลำหมู่ เป็นการลำ เล่านิทาน เรื่องราว โดยมีผู้แสดงประกอบ ลำเต้ย เป็นการลำที่มีจังหวะช้า และลำเพลิน เป็นการลำแบบใหม่มีสาว ๆ ร่ายรำประกอบ นอกจากนี้ยังมีเพลงโคราช ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ เพลงฉ่อยของภาคกลาง เพลงลากไม้เป็นการร้องประกอบการทำงาน เพลงเซิ้ง เช่น เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งผีตาโขน เซิ้งนางแมว เป็นต้น
๓ เพลงพื้นบ้านในภาคกลาง ในภาคกลางมีเพลงพื้นบ้าน มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งมักใช้ร้องในโอกาสต่าง ๆ เช่น ร้องเพื่อความบันเทิง ได้แก่ เพลงเรือ เพลงอีแซว ลำตัด เพลงฉ่อย ร้องประกอบการทำงาน ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำรำเคียว ฯลฯ
๔ เพลงพื้นบ้านในภาคใต้ เช่น เพลงเรือ ซึ่งเป็นเพลงเล่นทางน้ำเหมือนกับ เพลงเรือของภาคกลาง แต่ทำนองที่ร้องและการแต่งเนื้อเพลงต่างกัน นอกจากนี้ยังมีเพลงบอก ซึ่งเป็นเพลงที่เล่นได้ทั้งร้องคนเดียวและร้องโต้ตอบ เพลงนา ใช้ร้องเล่นเกี้ยวพาราสีกัน ในงานเทศกาลต่าง ๆ

"เพลงพื้นบ้านภาคกลาง"

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

เพลงเกี่ยวข้าว
คว้าเถิดนาแม่คว้า รีบตะบึงถึงคันนา
จะได้พูดจากันเอย

เกี่ยวเถิดหนาแม่เกี่ยว อย่ามัวแลมัวเหลียว
เคียวจะบาดมือเอย

เกี่ยวข้าวแม่ยาย ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายกำเอย

คว้าเถิดหนาแม่คว้า ผักบุ้งสันตะวา
คว้าให้เต็มกำเอย

กลอนแปด

กลอนแปด

กลอน คือลักษณะการแต่ง ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ มีสัมผัสกัน ตามลักษณะบัญญัติ เป็นชนิดๆ แต่ไม่มีบังคับ เอกโท และครุลหุ จึงเป็นกลอนแปบที่นิยมและแต่งกันทุกชั้นของสังคม แต่ว่าการแต่งก็อาจทำให้ดูสวยงามมากขึ้นได้ด้วยการใส่คำพ้องเสียงเข้าไป

ตัวอย่างกลอนแปด

นำมาจาก http://www.baanjomyut.com/

...ก่อนสิ้นแสงจันทร์...

ตะวันลับขอบฟ้าจันทราส่อง
แสงสีทองมองดูไม่สดใสล
คิดถึงคน-คนหนึ่งอยู่แสนไกล
แต่หัวใจใกล้ชิด..สนิทกัน
ฝากสายลมพัดพาไปบอกรัก
ฝากตะวันให้ประจักษ์รักของฉัน
ฝากสายหมอกบอกคิดถึงทุกคืนวัน
ฝากแสงจันทร์ช่วยดูแลแม้ยามนอน
ท้องนภายามนี้แลเหงานัก
หลายคู่รักนั่งชมจันทร์ไม่หวั่นไหว
แล้วคนรักของฉันอยู่หนใด
มีใครไหม..นั่งชมจันทร์..เคียงข้างเธอ...
หลายคู่รักหลับสนิทนิทราฝัน
ส่วนตัวฉันหลับไม่ลงเพียงพลั้งเผลอ
ภายในใจคิดถึงแต่เพียงเธอ
หลับละเมอเพ้อหาด้วยอาทร
ก่อนสิ้นแสงจันทราราตรีนี้
ขอคนดีรับรู้ถึงความห่วงหา
แม้นสิ้นแสงแห่งจันทราราตรีกาล
แต่รักมั่นยาวนานแม้สิ้นลม
โดย : ฟ้าใส

คำบาลีและคำบาลีสันสกฤต

คำบาลีและคำบาลีสันสกฤต

ภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ได้เข้ามาในประเทศไทยนั้น ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อภาษาไทยเป็ฯอย่างมาก บาลีและสันสกฤต เป็นภาษาในตระกูลเดียวกันคือตระกูลอินโด-ยุโรป (Indo-European) ภาษาในกลุ่มนี้ เป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย หมายความว่าคำทุกคำ (ยกเว้นจำพวกอัพยยศัพท์) ไม่ว่าจะเป็นคำนามหรือคำกริยา ล้วนแล้วแต่มีรากศัพท์ หรือผ่านการประกอบรูปศัพท์ทั้งสิ้น ไม่ใช่จะสำเร็จเป็นคำเป็นศัพท์เลยทีเดียว และเมื่อจะนำไปใช้จะต้องมีการแจกรูปเสียก่อน เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ในประโยคเช่นเป็นประธาน เป็นกรรม เป็นต้น ประเทศไทยของเราได้รับเอาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤษมาโดยการที่เรารับศาสนามาจากอินเดีย ทั้งบทสวดมนต์และคำสอนต่างๆ

ประเทศไทยของเราได้ เอาคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยไม่น้อย อาจกล่าวได้ว่ามากกว่าภาษาอื่นๆ ที่นำมาใช้ในภาษาไทยในปัจจุบัน เช่น ภาษาอังกฤษ แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยแล้ว ก็มีการเปลี่ยนรูป เปลี่ยนเสียง เปลี่ยนความหมาย ฯลฯ หรือที่เรียกว่าการกลายรูป กลายเสียง กลายความหมาย ฯลฯ นั่นเอง ปัจจุบัน ภาษาบาลีและสันสกฤตมีอิทธิพลต่อภาษาไทยอย่างยิ่ง แต่เป็นการเข้ามาโดยที่เราไมม่รูตัวหรือเป็นการที่เราได้หลงลืมไป และยังได้รับเอาคำภาษาทั้งสองนี้มาใช้เป็นจำนวนมากและอย่างแพร่หลาย

ความหมายและรูปแบบของภาษาบาลีในประเทศไทย

ความหมายและรูปแบบของภาษาบาลีในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้นได้รับเอาคำภาษาบาลีและสันสกฤษเข้ามาอย่างแพร่หลายและยังเข้ามาในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ต่อไปนี้

  • คำราชาศัพท์ ในภาษาไทยเรามีคำราชาศัพท์ที่เป็นคำบาลีและสันสกฤตจำนวนไม่น้อย
เช่น
พระเนตร หมายถึง ดวงตา (บาลี เนตฺต, สันสกฤต เนตฺร )
พระกรรณ หมายถึง หู (บาลี กณฺณ, สันสกฤต กรฺณ)
พระทนต์ หมายถึง ฟัน (บาลี ทนฺต, สันสกฤต ทนฺต)
พระบาท หมายถึง เท้า (บาลี ปาท, สันสกฤต ปาท)
พระพาหา หมายถึง แขน (บาลี พาหา, สันสกฤต พาหา)
พระเศียร หมายถึง หัว (บาลี สิร, สันสกฤต ศิรสฺ)
  • ชื่อจังหวัด อำเภอ ฯลฯ ในประเทศไทย
เช่น
สุรินทร์ แปลว่า จอมผู้กล้า, จอมเทวดา
แยกเป็น สุร (กล้า, เทวดา) + อินทร (จอม, ผู้เป็นใหญ่)
อุบลราชธานี แปลว่า เมืองดอกบัวหลวง
แยกเป็น อุบล (ดอกบัว) + ราช (พระราชา, หลวง) + ธานี (เมือง)
บุรีรัมย์ แปลว่า เมืองที่น่ายินดี
แยกเป็น บุรี (เมือง) + รัมย์ (น่ายินดี, อันเขาพึงยินดี)
ปทุมธานี แปลว่า เมืองแห่งดอกบัว
แยกเป็น ปทุม (ดอกบัว) + ธานี (เมือง)
สมุทรปราการ แปลว่า กำแพงแห่งทะเล
แยกเป็น สมุทร (ทะเล) + ปราการ (กำแพง)
สุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองคนดี
แยกเป็น สุ (ดี) + ราษฎร์ (ราษฎร, แคว้น) + ธานี (เมือง)
ชัยนาท แปลว่า เสียงบรรลือแห่งความชนะ
แยกเป็น ชัย (ความชนะ) + นาท (เสียงบรรลือ)
  • ชื่อ - นามสกุลของคน
เช่น
ทักษิณ แปลว่า ทิศใต้, ด้านขวา
กุลสตรี แปลว่า สตรีของตระกูล
แยกเป็น กุล (ตระกูล, สกุล) + สตรี (สตรี, ผู้หญิง)
กัญญารัตน์ แปลว่า นางแก้ว, แก้วคือหญิงสาว
แยกเป็น กัญญา (หญิงสาว) + รัตน์ (แก้ว, รัตนะ)
ตุงคมณี แปลว่า มณีชั้นสูง
แยกเป็น ตุงค (สูง, สูงส่ง) + มณี (มณี)
เศวตศิลา แปลว่า หินสีขาว แยกเป็น เศวต (ขาว) + ศิลา (หิน)
  • ชื่อมหาวิทยาลัย สถานที่ วัด
เช่น
ศิลปากร แปลว่า บ่อเกิดแห่งศิลปะ
แยกเป็น ศิลป (ศิลปะ) + อากร)
เกษตรศาสตร์ แปลว่า ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเกษตร
แยกเป็น เกษตร (เกษตร, ที่นา) + ศาสตร์ (ศาสตร์, ความรู้)
เทพหัสดิน แปลว่า ช้างของเทพ (หรือ เทพแห่งช้าง)
แยกเป็น เทพ (เทพ) + หัสดิน (ช้าง)
ราชมังคลากีฬาสถาน แปลว่า ที่สำหรับเล่นอันเป็นมงคลของพระราชา
แยกเป็น ราช (พระราชา) + มังคลา (เป็นมงคล) + กีฬา (กีฬา, การเล่น) + สถาน (สถาน, ที่)
เศวตฉัตร (ชื่อวัด) แปลว่า ฉัตรสีขาว
แยกเป็น เศวต (ขาว) + ฉัตร (ฉัตร, ร่ม)
  • ชื่อเดือนทั้ง ๑๒
เช่น
มกราคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายมังกร
แยกเป็น มกร (มังกร) + อาคม (เป็นที่มา)
กุมภาพันธ์ แปลว่า (เดือน) ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายหม้อ
แยกเป็น กุมภ (หม้อ) + อาพันธ์ (เกี่ยวข้อง)
มีนาคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายปลา
แยกเป็น มีน (ปลา) + อาคม (เป็นที่มา)
กรกฎาคม แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายปู
แยกเป็น กรกฎ (ปู) + อาคม (เป็นที่มา)
พฤศจิกายน แปลว่า (เดือน) เป็นที่มาของกลุ่มดาวที่มีรูปร่างคล้ายแมงป่อง
แยกเป็น พฤศจิก (แมงป่อง) + อยน (เป็นที่มา)
  • คำทั่วไป
เช่น
บรรพต แปลว่า ภูเขา (บาลี ปพฺพต, สันสกฤต ปรฺวต)
ราตรี แปลว่า กลางคืน (บาลี รตฺติ, สันสกฤต ราตฺริ,ราตฺรี)
ไปรณีษย์ แปลว่า ของที่ควรส่งไป (บาลี เปสนีย, สันสกฤต ไปฺรษณีย)
เกษียร แปลว่า น้ำนม (บาลี ขีร, สันสกฤต กฺษีร)
เกษียณ แปลว่า สิ้นไป (บาลี ขีณ, สันสกฤต กฺษีณ)