วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2550

กาพย์เห่เรือ

กาพย์เห่เรือ

กาพย์เห่เรือ เป็น
คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง แต่งไว้สำหรับขับร้องเห่ในกระบวนเรือ โดยมีทำนองเห่ที่สอดคล้องกับจังหวะการพายของฝีพาย ว่าช้า หรือเร็ว มักจะมีพนักงานขับเห่หนึ่งคนเป็นต้นเสียง และฝีพายคอยร้องขับตามจังหวะ พร้อมกับการให้จังหวะจากพนักงานประจำเรือแต่ละลำ ในปัจจุบันนั้นจะเป็นสิ่งที่เห็นได้เฉพาะในพระราชพิธีต่างๆที่สำคัญๆเท่านั้น ฃตามความจริงแล้วก็จะใช่ก็ต่อเมื่อมีการเดินทางทางน้ำของพระมหากษัตริย์เท่านั้นด้วย แต่ด้วยสมัยที่เปลี่ยนไปทำห้เราไม่ค่อนได้เห็นและได้พบเจอเท่าไหร่ อาจเพราะในสมัยนี้นั้นรัชกาลหนึ่งอาจมีการเดินทางทางน้ำไม่กี่ครั้งแล้วนั้นเอง

กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือใน เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกากีสันนิษฐานกันว่ากาพย์เห่เรือ เดิมคงจะแต่งเพื่อขับเห่กันเมื่อเดินทางไกลในแม่น้ำลำคลอง

ไม่มีความคิดเห็น: