วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2550

ฉันท์

ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุและสัมผัสเป็นมาตรฐาน (จะกล่าวง่ายๆก็คือเสียง วรรณยุกต์นั้นเอง)


ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต
ไทยนำเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างในเข้ากับภาษาของเรามากขึ้นไป
การเลือกใช้ฉันท์ชนิดต่าง ๆ
การเลือกใช้ฉันท์ ฉันท์นั้นมีการแบ่งหน้าอย่างชัดเจนว่าเป็นฉันท์ที่เอาไว้ทำอะไรดังนั้นการเลือกเอาไปใช้นั้นจะต้องดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน
  • บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทไหว้ครู บทสรรเสริญพระเกียรติ ความขลัง
ใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือสัทธราฉันท์
  • บทเล่าเรื่อง บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือวสันดิลกฉันท์

  • บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่นโกรธ ตื่นเต้น วิตกกังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับความรักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่างมาก นิยมใช้ อิทิสังฉันท์ ซึ่งเป็นฉันท์ที่สลับเสียงหนักเบาเน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ
  • บทพรรณนาโวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือเป็นที่ประทับใจ นิยมใช้
    ภุชงคประยาตฉันท์

  • บทสนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้เหตการณ์บรรยายไปอย่างรวดเร็ซจะนิยมใช้
    โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ หรือจิตรปทาฉันท์
  • บทบรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อินทวงสฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ หรือสาลินีฉันท์


ไม่มีความคิดเห็น: