วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2550

"ระดับของภาษา"

ระดับของภาษา
ภาษาไทยของเรานั้นในการใช้สามารถแบ่งออกไปได้ 3 ระดับ ด้วยกันคือ ระดับของบ้าน ระดับของวัด และระดับของวัง...การแบ่งเป็นสามระดับน้แบ่งได้โดยดูจากการใช้ว่าใช้อย่างไรและกับใครดังต่อไปนี้

ภาษาระดับบ้าน
คือภาษาที่ใช้ในการพูดทั่งๆไปใช้ในหมู่ประชาชนทั่วๆไป เรียบง่ายไม่สลับซับซ้อนมากจนกระทั่งคนทั่งไปไม่เข้าใจ

ภาษาระดับวัด
เป็นภาษาที่ใช้กับพระสงฆ์ ไล่ระดับไปจนกระทั่งถึงพระสังฆราช *คล้ายคลึงกับคำราชาศัพท์ และยังรวมไปถึงการคำบาลีและคำสันสกฤษ ซึ่งเข้ามากับพระพุทธศาสนา โดยผ่านบทสวดมนต์ คาถา พระพุทธสุภาษิต ฯลฯ และยังเข้าไปอยู่ในภาษาไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีต จนกระทั้งแม้แต่คนไทยเองยังไม่รู้ว่าคำคำนั้นเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทยของเรา

ภาษาระดับวัง
คือภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ ที่เรียกกันว่าคำราชาศัพท์ และยังรวมไปถึง กาพย์เห่เรือ และโคลงที่แต่งถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ ที่มาของการใช้ภาษาที่ไม่เหมือนะดับของชาวบ้านมาจากความเชื่อเรื่องสมมติเทพ** เพราะความเชื่อนี้เองที่เชื่อว่าองค์ราชาคือร่างแห่งเทพ-เป็นเทพเจ้า เช่นองค์นารายณ์อวตารเป็นต้น จึงต้องใช้ภาษาที่แตกต่างกันหรือทำให้ดุสุงส่งมากกว่าคนทั่งไปนั้นเอง


หมายเหตุ * ในหมู่ของพระสงฆ์นั้น เองก็มีการใช้ที่แตกต่างกันตามยศด้วยเช่นกัน
**ความเชื่อนี้ได้รับมาจากอินเดียซึ่งนับถือศาสนาฮินดู-พราหมณ์ที่เชื่อเรื่องเทพเจ้าโดย
มี 3 เทพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ พระนารายณ์ พระพรหม และพระศิวะ ทั้งสามพระองค์เรียก
ได้อีก ชื่อว่าพระตรีมูรตินั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น: